พร้อมแค่ไหนที่จะรับฟัง
การพูดถึงกษัตริย์ผ่านประวัติศาสตร์ไทย
ประเทศไทย
มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตลอดเวลาที่ผ่านมา
“เสียง” ของประชาชน ถูกส่งไปยังสถาบัน ที่มีสถานะประมุขของรัฐมาตลอด ซึ่งก็ “ไปถึง” บ้าง “ไปไม่ถึง” บ้าง
แล้ว “เสียง”
สู่สถาบันพระมหากษัตริย์
ถูกส่งไป
โปรเจกต์นี้ได้ทำการรวบรวมตัวอย่างข้อมูลเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยต่าง ๆ เพื่อนำมาพิจารณาถึงรายละเอียดและผลลัพธ์ของ “เสียง” ที่ถูกส่งไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ความหมายของสัญลักษณ์
เสียงไปถึง = เหตุการณ์ที่แสดงถึงความสำเร็จในการส่ง “เสียง” สู่สถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงการโต้ตอบของสถาบันพระมหากษัตริย์ และองคาพยพ ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เสียงไปไม่ถึง = เหตุการณ์ที่แสดงถึงความพยายามที่ไม่สำเร็จในการส่ง “เสียง” สู่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะถูกขัดขวางจากอุปสรรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะในทางกฎหมาย อำนาจ หรืออื่น ๆ
24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คือจุดเริ่มต้นสำคัญของการทำให้ “เสียง” เริ่มไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ได้มากขึ้น
“กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้มีสิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้วว่า รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้” ร.7 ทรงแสดงความคิดเห็นต่อคณะราษฎรว่า “พวกเขา (คณะราษฎร) “รักชาติ” เขาก็หาอำนาจใส่ตัว หาเงินใส่กระเป๋า ส่วนฉันนั้นถ้า “รักชาติ” ต้องปล่อยอำนาจให้หมด ต้องยอมเป็น Slave และต้องยอมลดรายได้ และมีเงินเท่าไรก็ต้องให้เขาหมด ฉันฉุนเหลือเกิน...”
การฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ เนื่องจากความขัดแย้งในเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือตัวอย่างหนึ่งของ “เสียง” ที่ถูกส่งไปถึงอย่างชัดเจน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สิ่งที่ต้องจัดระเบียบใหม่อีกสิ่งก็คือทรัพย์สิน โดยคณะราษฎรผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็ได้เกิดข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นปัญหาเนื่องจากตอนที่ยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการโอนทรัพย์สินบางส่วนไปไว้ที่ธนาคารต่างประเทศ และเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระปกเกล้าฯ เองนั้น ได้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าบัญชีส่วนพระองค์จำนวน ๖ ล้านบาท (ณ ช่วงเวลานั้น) กระทรวงการคลังจึงได้มอบให้อัยการเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องพระปกเกล้าฯ และพระนางเจ้ารำไพพรรณีต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เพื่อเรียกร้องให้ใช้เงินจำนวน 6 ล้านบาทเศษคืนแก่รัฐบาล จนในที่สุดศาลแพ่งก็ได้มีคำพิพากษาให้กระทรวงการคลังชนะคดี เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484
ความสำเร็จของ “เสียง” ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้การถกเถียงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐสภาเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในประเด็นต่าง ๆ
ประเด็น: การอยู่เหนือการเมืองของกษัตริย์
(ลงความเห็นว่ากษัตริย์ลงเล่นการเมืองได้)
ประเด็น: การฟ้องร้องกษัตริย์
(ลงความเห็นว่าห้ามฟ้องร้องกษัตริย์)
(ลงความเห็นว่าสามารถฟ้องร้องกษัตริย์ได้)
ประเด็น: อำนาจอธิปไตยในการแต่งตั้ง ส.ว.
(ลงความเห็นว่าไม่ควรให้อำนาจกษัตริย์ในการแต่งตั้ง ส.ว.)
(ลงความเห็นว่าควรให้อำนาจกษัตริย์ในการแต่งตั้ง ส.ว.)
(ลงความเห็นว่าควรให้อำนาจกษัตริย์ในการแต่งตั้ง ส.ว.)
(ลงความเห็นว่าควรให้อำนาจกษัตริย์ในการแต่งตั้ง ส.ว.)
ภายใต้รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จุดยืนด้านอนุรักษ์นิยมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกแสดงออกมาอย่างชัดเจนผ่าน “เสียง” ของผู้นำเผด็จการคนนี้
“ในการปฏิวัติครั้งนี้ ถึงหากจำเป็นจะต้องเปลี่ยนสถาบันแห่งชาติในทางหนึ่งทางใด แต่สิ่งหนึ่งซึ่งคณะปฏิวัติจะไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงคือระบอบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ”
ในช่วงเวลานั้น สถาบันพระมหากษัตริย์เริ่มฟื้นฟูความนิยม ผ่านการสร้างกิจกรรมและปรับบทบาทของราชวงศ์จักรี ให้มีความเข้าถึงประชาชนมากขึ้น
ประกอบกับกระแสการเข้ามาของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เริ่มต้นในช่วง พ.ศ. 2500 จึงนำไปสู่การสร้าง “เสียง” โดยอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อใช้ในการต่อต้านกระแสลัทธิคอมมิวนิสต์
จุดมุ่งหมายเริ่มแรกของการจัดตั้งลูกเสือชาวบ้านคือ การสร้างความสามัคคีในหมู่ข้าราชการและประชาชน เพื่อให้ประชาชนช่วยส่งข่าวและรวบรวมข้อมูลให้กับทางราชการเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ ต่อมาใน พ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินี ก็ได้รับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ด้วยเหตุนี้ในกรณี 6 ตุลาคม เมื่อถูกปลุกปั่นว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ลูกเสือชาวบ้านก็กลายเป็นกำลังสำคัญที่ร่วมชุมนุมต่อต้านและปราบปรามนักศึกษา
“บุคคลเหล่านี้ต้องการทำลายสถาบันเพื่อวัตถุประสงค์บางประการ อาทิ สถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้น จึงต้องการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง อันจะเป็นลู่ทางให้เขาทำลายสถาบันแห่งนี้ได้ง่ายขึ้น”
และในช่วงเวลานั้น “เสียง” เชิงวิพากษ์วิจารณ์ถึงพระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้อย่างเสรี
“เสียง” วิพากษ์วิจารณ์ที่ได้รับผลกระทบ
อีกทั้งการใช้เสรีภาพในการแสดงออก เช่น การแสดงละครของนักศึกษา เมื่อช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ก็ถูกปลุกปั่นโดยสื่อสายอนุรักษ์นิยมในยุคนั้นว่า เป็นการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
นำมาสู่การเคลื่อนไหวกลุ่มอนุรักษ์นิยมต่าง ๆ ที่ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อกลุ่มนักศึกษาโดยอ้างว่า เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
“ได้มีกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาบางกลุ่มได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันเป็นการเหยียบย่ำจิตใจของคนไทยทั้งชาติ โดยเจตจำนงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของคอมมิวนิสต์ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทย”
“การฆ่าฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์บาปไหม? อันนั้นอาตมาก็เห็นว่า ควรจะทำ คนไทยแม้จะนับถือพุทธ ก็ควรจะทำ แต่ก็ไม่ใช่ถือว่าเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มันไม่ใช่คนสมบูรณ์ ถึงแม้จะฆ่าคนก็บาปเล็กน้อยแต่บุญกุศลได้มากกว่า เหมือนเราฆ่าปลา แกงใส่บาตรพระ”
หลังจากนั้น ในช่วง พ.ศ. 2524 - 2534 “เสียง” วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ยังมีมาเรื่อย ๆ โดยสอดแทรกไปกับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น แต่ผู้สร้างเสียงเหล่านี้ ก็มักจะได้รับผลกระทบทางลบต่อตนเองตามมา
“เสียง” วิพากษ์วิจารณ์ที่ได้รับผลกระทบ
จนมาถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อปี พ.ศ. 2535 สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้แสดงบทบาทอีกครั้งในเรื่องทางการเมือง
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งให้คู่ขัดแย้งสองฝ่ายมาเข้าเฝ้า หลังจากนั้น พล.อ. สุจินดา คราประยูร ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกมองโดยคนบางกลุ่มว่าเป็นผู้คลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมือง
(ลงความเห็นว่ากษัตริย์ไม่ควรลงเล่นการเมือง)